ประวัติของชิห์สุ
Shih Tzu เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนสวยงามน่ารักคนที่มีโอกาสได้สัมผัสสุนัขพันธุ์นี้ มักอดใจหามาเป็นสมบัติของตัวเองไม่ได้ แม้ในประเทศที่มีเนื้อที่สร้างบ้านจำกัด ชิห์สุก็มีโอกาสเข้าไปเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัวเสมอ ตามคอนโด หรือ อพาร์ตเม้นท์ก็ไม่เว้น ในบ้านเราเอง ชิห์สุเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน และเป็นอีกพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบันและเป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่มีผู้ส่งเข้าประกวดมากที่สุด ในสุนัขกลุ่มทอย
บรรพบุรุษของชิห์สุ ค่อนข้างจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นักแต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าชิห์สุ มีต้นกำเนิดจากทิเบต เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของชาวทิเบตถือว่าสิงโตเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา พระชาวทิเบต (Lama)จึงได้ผสมสุนัขพันธุ์เล็กขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิงโต (Lion Dog) ชิห์สุ (ซึ่งแปลว่าสิงโต) จึงได้ชื่อว่าเป็นสุนัขที่เก่าแก่และตัวเล็กที่สุดในบรรดาสุนัขศักดิ์สิทธิ์ (Holy Dog) และมีลักษณะบางอย่างคล้ายกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ ของชาวทิเบต
ชิห์สุจากจีนในยุคแรก
ชิห์สุมาถึงดินแดนตะวันตกก่อนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ประมาณ 25 ปี แน่นอนว่าส่วนใหญ่มักจะเป็นสุนัขที่ถูกส่งให้เป็นของขวัญจากราชสำนักจีนให้แก่ราชวงศ์หรือเจ้านายชั้นสูงในตะวันตก หรือเป็นสุนัขที่ติดสอยห้อยตามภรรยาท่านทูตจากประเทศตะวันตกที่เข้าไปประจำในประเทศจีนซึ่งมักจะเป็นของขวัญที่ได้รับจากราชสำนักจีนอีกเช่นกันหรือแม้แต่การลักลอบ นำสุนัขชิห์สุออกจากประเทศจีนเองก็มี
นางเฮนริค คอฟฟ์แมน ภรรยาท่านทูตเดนมาร์กประจำประเทศจีนนำสุนัขชิห์สุ 3 ตัวเข้าไปยังประเทศนอร์เวย์และขึ้นทะเบียนกับสมาคมคอกสุนัขแห่งนอร์เวย์ สุนัขเหล่านั้นได้แก่ เอดโซ ซึ่งเกิดที่ปักกิ่ง, ลีดซา เกิดในพระราชวังปักกิ่ง และ เชาเดอร์ เกิดที่เซี่ยงไฮ้ มีลูกสุนัขจากสายพันธู์นี้ตัวหนึ่งได้ถูกทูลถวายแก่สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น ดัทช์ เชสส์ ออฟ ยอร์ค พระเจ้ายอร์ชที่หกแห่งอังกฤษยังทรงกล่าวถึงหลานของสุนัขตัวนี้ว่า "เราเรียกมันว่า ชุ-ชู เพราะว่าตอนที่มาหาเราครั้งแรกนั้นมันทำเสียงเหมือนรถไฟทีเดียว" ลีดซาถือเป็นชิห์สุที่เกิดในวังเพียงตัวเดียวที่มาถึงตะวันตก บรรดาลูกหลานของมันจะมีขนสวยงามเหมือนบรรพบุรุษตัวอย่างเช่น Chumalari Ying-Ying เคยเป็นแชมป์แคนนาดา นอกจากนี้แม่ของ Ying-Ying ที่ชื่อ Tangra ก็เป็นแชมป์ในสวิทเซอร์แลนด์ เชคโกสโลวะเกีย และ แคนนาดา
เมอซิเออร์ แกรฟฟ์ เอกอัตราชทูตเบลเยี่ยม ณ กรุงปักกิ่งมีชิห์สุซึ่งมีสายเลือดจากสุนัขในวังมา 6 ตัวและเมื่อได้ไปประจำในประเทศอื่นก็มักจะนำเชื้อสายของสุนัขเหล่านี้ไปให้แก่เพื่อนหรือคนรู้จักในประเทศนั้นๆด้วย
ในช่วงสุดท้ายของราชสำนักจีนก่อนการปฏิวัตินั้น การผสมพันธุ์ชิห์สุโดยเหล่าขัณฑีนั้นทำไปตามยถากรรมเพราะ จักรพรรดิองค์ใหม่ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของจีนไม่ทรงโปรดสุนัข และ จำนวนขัณฑีถูกปลดออกจำนวนมากเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ หลังจากจักรพรรดิทรงหนีไปเทียนสิน การผสมพันธุ์ยังคงดำเนินไปอีก 2-3 ปีก่อนที่สุนัขเหล่านี้จะถึงขั้นสูญพันธุ์ไปจากประเทศจีน แต่โชคยังดีที่มีการลักลอบและนำสุนัขชิห์สุออกไปยังประเทศแถบยุโรปบ้างพอสมควรและมีการขยายพันธุ์และส่งมอบให้แก่กันจนสุนัขชิห์สุมีอยู่ในหลายประเทศเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สวิทเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ค
การที่เรามีสายพันธุ์ชิห์สุที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้นั้น ต้องยกให้เป็นความดีของพระนางชูสีไทเฮาที่พยายามจะรักษาสายพันธุ์นี้ไว้ ซึ่งคอกสุนัขปั๊ก, ปักกิ่ง, และชิห์สุ ของพระนางฯ เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงทั่วโลก และถึงแม้ว่าพระนางจะดูแลเอาใจใส่สุนัขในคอกเป็นอย่างดีในตลอดช่วงเวลาที่พระนางมีชีวิตอยู่ แต่ก็ยังถูกลักลอบนำออกไปโดยขันฑีในราชสำนัก (เนื่องจากมีสุนัขมากเป็นร้อยตัวและประชาชนยังไม่มีสิทธิ์ที่จะเลี้ยงเพราะผู้ที่จะเลี้ยงได้ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในวังเท่านั้น) ซึ่งขันฑีได้แอบผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์เพื่อต้องการลดขนาดของสุนัขให้เล็กลงและให้ได้มาร์คกิ้งที่ต้องการ หลังจากพระนางชูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1908 สุนัขก็ค่อยๆ กระจัดกระจายหายไป การผสมพันธุ์ก็เป็นไปแบบตามอำเภอใจ แต่ก็ยังมีผู้ที่ยังคงผสมพันธุ์เพื่อรักษาสายพันธุ์ไว้อยู่ และหลังจากที่มีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ สุนัขในพระราชวังก็สูญพันธุ์ไปเนื่องจากมีการทำลายล้างพระราชวัง
ชิห์สุในอังกฤษ
ในยุคแรกๆที่ สุนัขชิห์สุเข้าไปอยู่ในประเทศแถบยุโรปนั้นยังไม่ได้รับการรองให้เป็นสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งและมีการเรียกขานด้วยชื่อที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ธิเบตัน, Lion Dogs ฯลฯ นอกจากนี้ในขณะนั้น สุนัขพันธุ์ ลาซ่า แอปโซ่ ซึ่งมาจากธิเบตและมีลักษณะคล้ายชิห์สุมากได้รับการรับรองให้เป็นสุนัขพันธุ์แท้แล้ว ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุนัขเท่าไปมักจะเข้าใจผิดคิดว่า ชิห์สุ เป็น ลาซ่า แอปโซ่
พลเอกเซอร์ดักกลาส และ เลดี้ บราวน์ริกก์ ซึ่งเคยพำนักอยู่ในประเทศจีนได้นำชิห์สุข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศอังกฤษและมีการขยายพันธุ์จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 สมาคมพันธุ์สุนัขธิเบตก็ตัดสินออกมาว่าสุนัขจากจีน (ซึ่งหมายถึงชิห์สุ) เหล่านี้ไม่ใช่ ลาซ่า แอปโซ่ และมีการใช้ชื่อ "SHIH TZU" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการจัดตั้ง The Shih Tzu Tibetan Lion Dog Club ขึ้น และในปีต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น The Shih Tzu Club และในปี พ.ศ. 2483 จึงได้มีการลงมติให้จดทะเบียนแยกสุนัขชิห์สุเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งและสามารถเข้าแข่งขันได้
ชิห์สุในอเมริกา
ากหลักฐานของอังกฤษทำให้ทราบว่ามีชิห์สุอย่างน้อย 7 ตัวถูกส่งไปยังอเมริกาก่อนปี พ.ศ. 2495 สถานภาพของสุนัขชิห์สุในอเมริกาในช่วงนั้นค่อนข้างสับสน เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสุนัข ลาซ่า แอปโซ่จึงขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขลาซ่า แอปโซ่ซึ่งได้รับการยอมรับแล้วหรืออาจกระทำโดยตั้งใจเพื่อให้สุนัขของตนเข้าสนามประกวดได้ รวมถึงการนำสุนัขชิห์สุไปผสมกับสุนัขลาซ่า แอปโซ่อีกด้วย ดังนั้น สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกา (American Kennel Club) จึงชะลอการยอมรับสุนัขพันธุ์นี้ออกไปอีก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกายอมรับสุนัขพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการและยอมให้เข้าประกวดในรุ่นทั่วไป (Miscellaneous Class) ซึ่งสมัยนั้นจะต้องเข้าแข่งขันกับสุนัขเช่น Akita, Chinese Crested และ King Charles Spaniel โดยที่สุนัขในรุ่นนี้ไม่สามารถเก็บคะแนนและเป็นแชมป์เปี้ยนได้ รางวัลสูงสุดที่ได้รับคือ รางวัลที่หนึ่งในรุ่นเท่านั้นแต่อย่างน้อยก็ทำให้ชิห์สุได้ปรากฎแก่สายตาประชาชน และอีกไม่กี่ปีต่อมา ชิห์สุ ก็กวาดรางวัลเกือบทั้งหมดในรุ่นนี้!!!
ในปี พ.ศ. 2500 ชมรมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิห์สุแห่งอเมริกา (The Shih Tzu Club of America) ได้ก่อตั้งขึ้นและเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกาได้ยอมรับชิห์สุให้เข้าประกวดในฐานะสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งซึ่งสามารถเป็นแชมป์เปี้ยนได้
Shih Tzu เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีขนสวยงามน่ารักคนที่มีโอกาสได้สัมผัสสุนัขพันธุ์นี้ มักอดใจหามาเป็นสมบัติของตัวเองไม่ได้ แม้ในประเทศที่มีเนื้อที่สร้างบ้านจำกัด ชิห์สุก็มีโอกาสเข้าไปเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัวเสมอ ตามคอนโด หรือ อพาร์ตเม้นท์ก็ไม่เว้น ในบ้านเราเอง ชิห์สุเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน และเป็นอีกพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบันและเป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่มีผู้ส่งเข้าประกวดมากที่สุด ในสุนัขกลุ่มทอย
บรรพบุรุษของชิห์สุ ค่อนข้างจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นักแต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าชิห์สุ มีต้นกำเนิดจากทิเบต เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของชาวทิเบตถือว่าสิงโตเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา พระชาวทิเบต (Lama)จึงได้ผสมสุนัขพันธุ์เล็กขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิงโต (Lion Dog) ชิห์สุ (ซึ่งแปลว่าสิงโต) จึงได้ชื่อว่าเป็นสุนัขที่เก่าแก่และตัวเล็กที่สุดในบรรดาสุนัขศักดิ์สิทธิ์ (Holy Dog) และมีลักษณะบางอย่างคล้ายกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ ของชาวทิเบต
ชิห์สุจากจีนในยุคแรก
ชิห์สุมาถึงดินแดนตะวันตกก่อนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ประมาณ 25 ปี แน่นอนว่าส่วนใหญ่มักจะเป็นสุนัขที่ถูกส่งให้เป็นของขวัญจากราชสำนักจีนให้แก่ราชวงศ์หรือเจ้านายชั้นสูงในตะวันตก หรือเป็นสุนัขที่ติดสอยห้อยตามภรรยาท่านทูตจากประเทศตะวันตกที่เข้าไปประจำในประเทศจีนซึ่งมักจะเป็นของขวัญที่ได้รับจากราชสำนักจีนอีกเช่นกันหรือแม้แต่การลักลอบ นำสุนัขชิห์สุออกจากประเทศจีนเองก็มี
นางเฮนริค คอฟฟ์แมน ภรรยาท่านทูตเดนมาร์กประจำประเทศจีนนำสุนัขชิห์สุ 3 ตัวเข้าไปยังประเทศนอร์เวย์และขึ้นทะเบียนกับสมาคมคอกสุนัขแห่งนอร์เวย์ สุนัขเหล่านั้นได้แก่ เอดโซ ซึ่งเกิดที่ปักกิ่ง, ลีดซา เกิดในพระราชวังปักกิ่ง และ เชาเดอร์ เกิดที่เซี่ยงไฮ้ มีลูกสุนัขจากสายพันธู์นี้ตัวหนึ่งได้ถูกทูลถวายแก่สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น ดัทช์ เชสส์ ออฟ ยอร์ค พระเจ้ายอร์ชที่หกแห่งอังกฤษยังทรงกล่าวถึงหลานของสุนัขตัวนี้ว่า "เราเรียกมันว่า ชุ-ชู เพราะว่าตอนที่มาหาเราครั้งแรกนั้นมันทำเสียงเหมือนรถไฟทีเดียว" ลีดซาถือเป็นชิห์สุที่เกิดในวังเพียงตัวเดียวที่มาถึงตะวันตก บรรดาลูกหลานของมันจะมีขนสวยงามเหมือนบรรพบุรุษตัวอย่างเช่น Chumalari Ying-Ying เคยเป็นแชมป์แคนนาดา นอกจากนี้แม่ของ Ying-Ying ที่ชื่อ Tangra ก็เป็นแชมป์ในสวิทเซอร์แลนด์ เชคโกสโลวะเกีย และ แคนนาดา
เมอซิเออร์ แกรฟฟ์ เอกอัตราชทูตเบลเยี่ยม ณ กรุงปักกิ่งมีชิห์สุซึ่งมีสายเลือดจากสุนัขในวังมา 6 ตัวและเมื่อได้ไปประจำในประเทศอื่นก็มักจะนำเชื้อสายของสุนัขเหล่านี้ไปให้แก่เพื่อนหรือคนรู้จักในประเทศนั้นๆด้วย
ในช่วงสุดท้ายของราชสำนักจีนก่อนการปฏิวัตินั้น การผสมพันธุ์ชิห์สุโดยเหล่าขัณฑีนั้นทำไปตามยถากรรมเพราะ จักรพรรดิองค์ใหม่ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายของจีนไม่ทรงโปรดสุนัข และ จำนวนขัณฑีถูกปลดออกจำนวนมากเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ หลังจากจักรพรรดิทรงหนีไปเทียนสิน การผสมพันธุ์ยังคงดำเนินไปอีก 2-3 ปีก่อนที่สุนัขเหล่านี้จะถึงขั้นสูญพันธุ์ไปจากประเทศจีน แต่โชคยังดีที่มีการลักลอบและนำสุนัขชิห์สุออกไปยังประเทศแถบยุโรปบ้างพอสมควรและมีการขยายพันธุ์และส่งมอบให้แก่กันจนสุนัขชิห์สุมีอยู่ในหลายประเทศเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สวิทเซอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ค
การที่เรามีสายพันธุ์ชิห์สุที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้นั้น ต้องยกให้เป็นความดีของพระนางชูสีไทเฮาที่พยายามจะรักษาสายพันธุ์นี้ไว้ ซึ่งคอกสุนัขปั๊ก, ปักกิ่ง, และชิห์สุ ของพระนางฯ เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงทั่วโลก และถึงแม้ว่าพระนางจะดูแลเอาใจใส่สุนัขในคอกเป็นอย่างดีในตลอดช่วงเวลาที่พระนางมีชีวิตอยู่ แต่ก็ยังถูกลักลอบนำออกไปโดยขันฑีในราชสำนัก (เนื่องจากมีสุนัขมากเป็นร้อยตัวและประชาชนยังไม่มีสิทธิ์ที่จะเลี้ยงเพราะผู้ที่จะเลี้ยงได้ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในวังเท่านั้น) ซึ่งขันฑีได้แอบผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์เพื่อต้องการลดขนาดของสุนัขให้เล็กลงและให้ได้มาร์คกิ้งที่ต้องการ หลังจากพระนางชูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1908 สุนัขก็ค่อยๆ กระจัดกระจายหายไป การผสมพันธุ์ก็เป็นไปแบบตามอำเภอใจ แต่ก็ยังมีผู้ที่ยังคงผสมพันธุ์เพื่อรักษาสายพันธุ์ไว้อยู่ และหลังจากที่มีการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ สุนัขในพระราชวังก็สูญพันธุ์ไปเนื่องจากมีการทำลายล้างพระราชวัง
ชิห์สุในอังกฤษ
ในยุคแรกๆที่ สุนัขชิห์สุเข้าไปอยู่ในประเทศแถบยุโรปนั้นยังไม่ได้รับการรองให้เป็นสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งและมีการเรียกขานด้วยชื่อที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ธิเบตัน, Lion Dogs ฯลฯ นอกจากนี้ในขณะนั้น สุนัขพันธุ์ ลาซ่า แอปโซ่ ซึ่งมาจากธิเบตและมีลักษณะคล้ายชิห์สุมากได้รับการรับรองให้เป็นสุนัขพันธุ์แท้แล้ว ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุนัขเท่าไปมักจะเข้าใจผิดคิดว่า ชิห์สุ เป็น ลาซ่า แอปโซ่
พลเอกเซอร์ดักกลาส และ เลดี้ บราวน์ริกก์ ซึ่งเคยพำนักอยู่ในประเทศจีนได้นำชิห์สุข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศอังกฤษและมีการขยายพันธุ์จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 สมาคมพันธุ์สุนัขธิเบตก็ตัดสินออกมาว่าสุนัขจากจีน (ซึ่งหมายถึงชิห์สุ) เหล่านี้ไม่ใช่ ลาซ่า แอปโซ่ และมีการใช้ชื่อ "SHIH TZU" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการจัดตั้ง The Shih Tzu Tibetan Lion Dog Club ขึ้น และในปีต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น The Shih Tzu Club และในปี พ.ศ. 2483 จึงได้มีการลงมติให้จดทะเบียนแยกสุนัขชิห์สุเป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งและสามารถเข้าแข่งขันได้
ชิห์สุในอเมริกา
ากหลักฐานของอังกฤษทำให้ทราบว่ามีชิห์สุอย่างน้อย 7 ตัวถูกส่งไปยังอเมริกาก่อนปี พ.ศ. 2495 สถานภาพของสุนัขชิห์สุในอเมริกาในช่วงนั้นค่อนข้างสับสน เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสุนัข ลาซ่า แอปโซ่จึงขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขลาซ่า แอปโซ่ซึ่งได้รับการยอมรับแล้วหรืออาจกระทำโดยตั้งใจเพื่อให้สุนัขของตนเข้าสนามประกวดได้ รวมถึงการนำสุนัขชิห์สุไปผสมกับสุนัขลาซ่า แอปโซ่อีกด้วย ดังนั้น สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกา (American Kennel Club) จึงชะลอการยอมรับสุนัขพันธุ์นี้ออกไปอีก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกายอมรับสุนัขพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการและยอมให้เข้าประกวดในรุ่นทั่วไป (Miscellaneous Class) ซึ่งสมัยนั้นจะต้องเข้าแข่งขันกับสุนัขเช่น Akita, Chinese Crested และ King Charles Spaniel โดยที่สุนัขในรุ่นนี้ไม่สามารถเก็บคะแนนและเป็นแชมป์เปี้ยนได้ รางวัลสูงสุดที่ได้รับคือ รางวัลที่หนึ่งในรุ่นเท่านั้นแต่อย่างน้อยก็ทำให้ชิห์สุได้ปรากฎแก่สายตาประชาชน และอีกไม่กี่ปีต่อมา ชิห์สุ ก็กวาดรางวัลเกือบทั้งหมดในรุ่นนี้!!!
ในปี พ.ศ. 2500 ชมรมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิห์สุแห่งอเมริกา (The Shih Tzu Club of America) ได้ก่อตั้งขึ้นและเป็นช่วงเดียวกันกับที่สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอเมริกาได้ยอมรับชิห์สุให้เข้าประกวดในฐานะสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งซึ่งสามารถเป็นแชมป์เปี้ยนได้
ดีค่ะ
ตอบลบดี
ตอบลบhttp://kokojojo04.blogspot.com